เขียนโดย admin fanzashop
|
วันศุกร์ที่ 07 มีนาคม 2014 เวลา 17:59 น. |


1.ปัญจขันธ์ (ได้รับการยกย่องเป็นสมุนไพรแห่งชาติปี 2548 โดยกระทรวงสาธารณสุข)
หรือ เจียวกู่หลาน (Jiaogolan) หรือ Miracle glass (หญ้ามหัศจรรย์) หรือ
Southern ginseng (โสมภาคใต้) หรือ 5-Leaf ginseng (โสมห้าใบ) สายพันธุ์พิเศษ
จากมณฑลฮกเกี๋ยน ประเทศจีน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynostemma pentaphyllum (Thunb.)
ปัญจขันธ์ เป็นพืชล้มลุกชนิดเถา เลื้อยขนานกับพื้นดิน รากงอกจากข้อ เป็นประเภทแดงน้ำเต้า
สมุนไพรชนิดนี้มีการใช้กันมากในประเทศญี่ปุ่นและประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม :หนังสือปัญจขันธ์ : สมุนไพรอมตะ เหมือนโสมแต่ดีกว่า โดย ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน
|

2.ถั่งเช่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordyceps sinensis (Berk.) Saec.
เห็ดถั่งเช่า หรือ ชื่อเต็มว่า ตังถั่งแห่เช่า เป็นราแมลงในกลุ่ม Ascomycetes ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นตัวหนอน ซึ่งเป็นหนอนผีเสื้อชนิดหนึ่ง
และส่วนบนของตัวหนอนที่มีเห็ดชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Cordyceps sinensis (Berk.) Saec. มีแหล่งกำเนิดเฉพาะถิ่น คือ ในพื้นที่สูง 4,000-5,000 เมตร จากระดับ น้ำทะเล เช่น ประเทศจีน ภูฏาน และทิเบต
เกิดขึ้นโดยสปอร์เชื้อราจะเข้าสู่ตัวอ่อนของ หนอนผีเสื้อค้างคาว ที่ฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินในฤดูหนาว และเมื่อถึงฤดูร้อน
ก้านสปอร์จะเติบโต ขึ้นมาบนพื้นดิน ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนต้นหญ้าที่ขึ้นเฉพาะฤดูร้อน และด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกว่า
|
"ฤดูหนาวเป็นหนอน ฤดูร้อนเป็นหญ้า" หรือ "หนาวหนอนร้อนหญ้า"

3.ตังกุย / โกฐเชียง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abgelica sinensis (Oliv) Diels
ตังกุยได้จากรากไม้พืชจำพวกคึ่นไช่ (Celery) มีฤทธิ์อุ่น รสหวานอมขมและเผ็ด จากการวิจัยพบว่าในตังกุยมี
น้ำมันระเหยร้อยละ 0.4-0.7 ซูโครสร้อยละ 40 อัลคาลอยด์ วิตามินบี วิตามินบี12 วิต ามินเอ และยังมีกรดต่าง ๆ
เช่น กรดนิโคติน กรดปาลมิติก กรดสเตียริก กรดไมริสติก กรดไขมันไม่อิ่มตัว กรดไลโนเลอิก และไซโทสเตอรอล
|

4.โสม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Panax ginseng C. A. Meyer
โสมเป็นสมุนไพรซึ่งนิยมใช้ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน โดยประเทศทางตะวันออก เชื่อว่าเป็นยาครอบจักรวาลช่วยเพิ่มพลัง
โสมนี้ยังมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น โสมจัน โสมญี่ปุ่น โสมเกาหลี โสมอเมริกา ผักกะโสม โสมไทย โสมดอกแดง
|
และโสมที่นิยมใช้กันมาพันปี คือ โสมเกาหลี หรือโสมอเมริกา

5.เห็ดหลินจือ (Lingzhi) ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma lucidum
สายพันธุ์พิเศษจากโครงการพระราชดำริ
เห็ดหลินจือเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่าเป็น "เจ้าแห่งสมุนไพร" ตามประวัติเห็ดหลินจือเป็นยาจีน (Chinese traditional medicine ) ที่ใช้กันมานานกว่า 2,000 ปี นั
บตั้งแต่สมัยจักรพรรดิฉินซีฮ่องเต้เป็นต้นมา เห็ดหลินจือเป็นของหายากมีคุณค่าสูงในทางสมุนไพรจีน และ
ได้ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์โบราณ “เสินหนงเปินเฉ่า” ซึ่งเป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนมีคนนับถือมากที่สุด
|

6.เมล็ดทับทิม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Punica granatum Linn.
ทับทิมนั้นมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน อินเดีย อียิปต์ และตะวันออกกลาง Pomegranate (Punica granatum)
หรือทับทิมนั้นเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณห้าถึงแปดเมตร ภายในทับทิมผลนึงจะอัดแน่นไปด้วยเมล็ดทับทิมเป็น
จำนวนมากประมาณเจ็ดร้อยถึงแปดร้อยเมล็ดซึ่งเมื่อผลนั้นสุกดีแล้วจะมีสีแดงเข้ม ในบางครั้งจะมีการนำเอาทับทิมป่า
มาทำเป็นเครื่องเทศ เรียกว่า อนารดานา (Anardana) ทับทิมอุดมไปด้วยสารพฤกษเคมี (Phytochemical)
ที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ
เช่นกรดเอลาจิก (Ellagic acid)
|
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม :หนังสือ มหัศจรรย์ทับทิม โดย ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน

7.กระชายดำ ชื่อวิทยาศาสตร์: Kaempferia parviflora
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็น ปุ่ม ๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชาย ธรรมดา ขณะต้นเล็ก จะมีแต่รากและรากนั้นเองจะเปลี่ยนเป็นหัวเมื่อโตขึ้น
เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่นหรือสีดำดังผลลูกหว้า แต่ถือกันว่ากระชายดำที่มีคุณสมบัติที่ดีต้องสีดำสนิท ใบ
เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่และเขียวเข้มกว่าผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากราก
ไม่มีต้น ดอก จะออกดอกจากยอดของต้น ช่อละหนึ่งดอก มีใบเลี้ยงที่ช่อดอก ริมปากดอกสีขาว เส้นเกสรสีม่วง
|
และเกสรมีสีเหลือง

8.ส้มแขก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia cambogia Desr.
ส้มแขก เป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีความสำคัญ ดังนี้ **ด้านอาหาร ผู้บริโภคนิยมนำส้มแขกนำมาปรุงรสแทนผลของมะขามหรือมะนาว มานานปีแล้ว
|
และปัจจุบันความนิยมในการนำส้มแขกมาปรุงรสอาหารก็เพิ่มเรื่อยๆ
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 07 มีนาคม 2014 เวลา 19:43 น. |